กลุ่ม 1/1 Section1

นายกิตติพงษ์ แสงวนิช 51010073

นายณุพันธ์ ชะอุ่ม 51010456

นาย ณปภัช ชาตรูประชีวิน 51010651

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

งานกลุ่ม 18 คน word&powerpoint ไฟล์แนบ

เรื่อง ปัญหาพรมแดนประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยร่องน้ำแม่น้ำโขง Word

ปัญหาพรมแดนประเทศไทยกับ2 Powerpoint

โครงการเขื่อนกันตลิ่ง


บทคัดย่อ(Abstract)

จากข้อมูลที่ศึกษาที่จังหวัดหนองคาย พบปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ในแต่ละปีพื้นที่ริมตลิ่งตามแนวลำน้ำโขงถูกกัดเซาะพังทลายลง เกิดจากสาเหตุ ดินที่อยู่ชั้นบนเป็นดิน CL มีการจับตัวกันแน่นปานกลางจึงโดนกระแสน้ำกัดเซาะจนถล่มลงมา จึงได้คิดโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง (ตามแนวลำน้ำโขง) เพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำโดยสร้างเขื่อนตามแนวริมตลิ่ง หน้าวิทยาลัยการต่อเรือหนองคาย ต.- อ.เมือง จ.หนองคาย โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลของกรมโยธาธิการเป็นข้อมูลหลุมเจาะที่ BH-1.1 ความสูงของดินที่ 1.5-1.95 ม. มีลักษณะดินเป็นดินเหนียว ที่ระยะ 3-18.45 ม. มีลักษณะดินฝุ่นมีความละเอียดกว่า ข้อมูลที่หลุมเจาะBH-2.1 ความสูงของดินที่ 1.5-3.45 ม.มีลักษณะดินเป็นดินเหนียว ที่ระดับ 4.5-6.5 ม.มีลักษณะดินเป็นดินฝุ่น ที่ระดับ 7.5-13.6มีลักษะดินเป็นดินทรายจับตัวกันแน่น เพื่อดูข้อมูลของดินและนำมาอ้างอิงในการทำงาน

บทนำ(Introduction)

หนองคายเป็นจังหวัดที่ติดลุ่มแม่น้ำโขงที่ดินบริเวณนี้มีความสำคัญในการแบ่งเขตชายแดนเพื่อไม่ให้เสียพื้นที่จากการกัดเซาะตลิ่งของแม่น้ำโขง โดยดินในบริเวณนี้มีลักษณะเป็นดินเหนียวกับดินฝุ่นเมื่อโดนกระแสน้ำกัดเซาะไปเรื่อยๆทำให้ดินเกิดการสไลด์พังลงมาเป็นเหตุให้ที่บริเวณนี้เสียหาย เนื่องจากข้อมูลหลุมเจาะมีเพียง 2 หลุมจึงทำให้มีรายละเอียดค่อนข้างน้อย

วิธีการ(Methodology)

ได้ทำการศึกษาข้อมูลหลุมเจาะจากกรมโยธาธิการ ในบริเวณหน้าวิทยาลัยการต่อเรือหนองคาย โดยมีข้อมูลหลุมเจาะ 2 หลุม ในบริเวณใกล้เคียงกัน เพื่อศึกษาลักษณะชั้นดินว่ามีสภาพเป็นอย่างไร แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการพังทลายของดินตามแนวริมตลิ่ง โดยสรุปได้ว่า น่าจะเกิดจากดินชั้นดินแรกๆนั้นเป็นดินเหนียวกับดินฝุ่น เมื่อมีเกิดการกัดเซาะของกระแสน้ำจากแม่น้ำโขงเรื่อยๆ ดินจึงเกิดการสไลด์ตัวของดินพังทลายลงมา และได้นำข้อมูลหลุมเจาะทั้ง 2 หลุมนั้นมาวิเคราะห์ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน จากนั้นก้ทำการสรุปผลการศึกษาการพังทลายของดิน


ข้อมูลทางธรณีวิทยา(Geotechnical Data)

บริเวณที่มีการสร้างเขื่อนกันตลิ่งตามแนวริมแม่น้ำโขง






รูปที่ 1.1 แนวสร้างเขื่อนกันตลิ่ง
ที่มา http://www.googleearth.com/



ข้อมูลหลุมเจาะของกรมโยธาธิการ






รูปที่ 2.1 บริเวณที่เจาะหลุม
ที่มา http://www.dpt.go.th/soil/showimg.asp?img=./data/4301000200m1.gif




รูปที่ 2.2 ข้อมูลหลุมเจาะ BH-1.1


รูปที่ 2.3 ข้อมูลหลุมเจาะ BH-1.1
ที่มา http://www.dpt.go.th/soil/showimg.asp?img=./data/4301000201s1.gif



รูปที่ 2.4 ข้อมูลหลุมเจาะ BH-2.1

ที่มา http://www.dpt.go.th/soil/showimg.asp?img=./data/4301000202b1.gif





รูปที่ 2.5 ข้อมูลหลุมเจาะ BH-2.1



รูปที่ 2.6 สรุปผลโครงการ
ที่มา http://www.dpt.go.th/soil/showimg.asp?img=./data/4301000200P1.gif


ผลลัพธ์ (Result and Discussion)

ดินที่ได้ทำการสำรวจนั้น ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยตรวจสอบข้อมูลหลุมเจาะ หน้าวิทยาลัยการต่อเรือหนองคาย ต.- อ.เมือง จ.หนองคาย ตรวจสอบดินละเอียดโดยนำค่า PI , LL % ไป plotในกราฟ Plasticity Chart พบว่า ถูกต้องตามที่ได้ให้ข้อมูล ตรวจสอบดินหยาบโดยพิจารณา % ที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 พบว่าผ่านไม่ถึง 50 % ทำให้อยู่ใน Coare grained soils จากนั้น grain size (% finer) ที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ทุกตัวพบว่า ผ่านเกินกว่า 50% ทำให้ทราบว่าเป็น sand ทั้งหมด พิจารณา % finer ที่ผ่าน เบอร์ 200 น้อยกว่า 5% ไม่พบข้อมูล มากกว่า 12% จะเป็น SM ถ้าอยู่ระหว่าง 5-12 % จะเป็น SW-SM จากการตรวจสอบพบว่าผลที่ได้มีความน่าเชื่อถือ

Summary

จากการศึกษาข้อมูลหลุมเจาะ ทำให้ทราบถึงปัญหาของแนวตลิ่งริมแม่น้ำโขง และเพื่อป้องกันจึงได้มีการสร้างเขื่อนขึ้น เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ

แหล่งอ้างอิง(Reference)

http://www.dpt.go.th/soil/ กรมโยธาธิการและผังเมือง
http://www.googleearth.com/
http://www.nkcity.com/index.php?mod=article&cat=nongkhaidata&article=242