กลุ่ม 1/1 Section1

นายกิตติพงษ์ แสงวนิช 51010073

นายณุพันธ์ ชะอุ่ม 51010456

นาย ณปภัช ชาตรูประชีวิน 51010651

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

งานกลุ่ม 18 คน word&powerpoint ไฟล์แนบ

เรื่อง ปัญหาพรมแดนประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยร่องน้ำแม่น้ำโขง Word

ปัญหาพรมแดนประเทศไทยกับ2 Powerpoint

โครงการเขื่อนกันตลิ่ง


บทคัดย่อ(Abstract)

จากข้อมูลที่ศึกษาที่จังหวัดหนองคาย พบปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ในแต่ละปีพื้นที่ริมตลิ่งตามแนวลำน้ำโขงถูกกัดเซาะพังทลายลง เกิดจากสาเหตุ ดินที่อยู่ชั้นบนเป็นดิน CL มีการจับตัวกันแน่นปานกลางจึงโดนกระแสน้ำกัดเซาะจนถล่มลงมา จึงได้คิดโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง (ตามแนวลำน้ำโขง) เพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำโดยสร้างเขื่อนตามแนวริมตลิ่ง หน้าวิทยาลัยการต่อเรือหนองคาย ต.- อ.เมือง จ.หนองคาย โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลของกรมโยธาธิการเป็นข้อมูลหลุมเจาะที่ BH-1.1 ความสูงของดินที่ 1.5-1.95 ม. มีลักษณะดินเป็นดินเหนียว ที่ระยะ 3-18.45 ม. มีลักษณะดินฝุ่นมีความละเอียดกว่า ข้อมูลที่หลุมเจาะBH-2.1 ความสูงของดินที่ 1.5-3.45 ม.มีลักษณะดินเป็นดินเหนียว ที่ระดับ 4.5-6.5 ม.มีลักษณะดินเป็นดินฝุ่น ที่ระดับ 7.5-13.6มีลักษะดินเป็นดินทรายจับตัวกันแน่น เพื่อดูข้อมูลของดินและนำมาอ้างอิงในการทำงาน

บทนำ(Introduction)

หนองคายเป็นจังหวัดที่ติดลุ่มแม่น้ำโขงที่ดินบริเวณนี้มีความสำคัญในการแบ่งเขตชายแดนเพื่อไม่ให้เสียพื้นที่จากการกัดเซาะตลิ่งของแม่น้ำโขง โดยดินในบริเวณนี้มีลักษณะเป็นดินเหนียวกับดินฝุ่นเมื่อโดนกระแสน้ำกัดเซาะไปเรื่อยๆทำให้ดินเกิดการสไลด์พังลงมาเป็นเหตุให้ที่บริเวณนี้เสียหาย เนื่องจากข้อมูลหลุมเจาะมีเพียง 2 หลุมจึงทำให้มีรายละเอียดค่อนข้างน้อย

วิธีการ(Methodology)

ได้ทำการศึกษาข้อมูลหลุมเจาะจากกรมโยธาธิการ ในบริเวณหน้าวิทยาลัยการต่อเรือหนองคาย โดยมีข้อมูลหลุมเจาะ 2 หลุม ในบริเวณใกล้เคียงกัน เพื่อศึกษาลักษณะชั้นดินว่ามีสภาพเป็นอย่างไร แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการพังทลายของดินตามแนวริมตลิ่ง โดยสรุปได้ว่า น่าจะเกิดจากดินชั้นดินแรกๆนั้นเป็นดินเหนียวกับดินฝุ่น เมื่อมีเกิดการกัดเซาะของกระแสน้ำจากแม่น้ำโขงเรื่อยๆ ดินจึงเกิดการสไลด์ตัวของดินพังทลายลงมา และได้นำข้อมูลหลุมเจาะทั้ง 2 หลุมนั้นมาวิเคราะห์ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน จากนั้นก้ทำการสรุปผลการศึกษาการพังทลายของดิน


ข้อมูลทางธรณีวิทยา(Geotechnical Data)

บริเวณที่มีการสร้างเขื่อนกันตลิ่งตามแนวริมแม่น้ำโขง






รูปที่ 1.1 แนวสร้างเขื่อนกันตลิ่ง
ที่มา http://www.googleearth.com/



ข้อมูลหลุมเจาะของกรมโยธาธิการ






รูปที่ 2.1 บริเวณที่เจาะหลุม
ที่มา http://www.dpt.go.th/soil/showimg.asp?img=./data/4301000200m1.gif




รูปที่ 2.2 ข้อมูลหลุมเจาะ BH-1.1


รูปที่ 2.3 ข้อมูลหลุมเจาะ BH-1.1
ที่มา http://www.dpt.go.th/soil/showimg.asp?img=./data/4301000201s1.gif



รูปที่ 2.4 ข้อมูลหลุมเจาะ BH-2.1

ที่มา http://www.dpt.go.th/soil/showimg.asp?img=./data/4301000202b1.gif





รูปที่ 2.5 ข้อมูลหลุมเจาะ BH-2.1



รูปที่ 2.6 สรุปผลโครงการ
ที่มา http://www.dpt.go.th/soil/showimg.asp?img=./data/4301000200P1.gif


ผลลัพธ์ (Result and Discussion)

ดินที่ได้ทำการสำรวจนั้น ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยตรวจสอบข้อมูลหลุมเจาะ หน้าวิทยาลัยการต่อเรือหนองคาย ต.- อ.เมือง จ.หนองคาย ตรวจสอบดินละเอียดโดยนำค่า PI , LL % ไป plotในกราฟ Plasticity Chart พบว่า ถูกต้องตามที่ได้ให้ข้อมูล ตรวจสอบดินหยาบโดยพิจารณา % ที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 พบว่าผ่านไม่ถึง 50 % ทำให้อยู่ใน Coare grained soils จากนั้น grain size (% finer) ที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ทุกตัวพบว่า ผ่านเกินกว่า 50% ทำให้ทราบว่าเป็น sand ทั้งหมด พิจารณา % finer ที่ผ่าน เบอร์ 200 น้อยกว่า 5% ไม่พบข้อมูล มากกว่า 12% จะเป็น SM ถ้าอยู่ระหว่าง 5-12 % จะเป็น SW-SM จากการตรวจสอบพบว่าผลที่ได้มีความน่าเชื่อถือ

Summary

จากการศึกษาข้อมูลหลุมเจาะ ทำให้ทราบถึงปัญหาของแนวตลิ่งริมแม่น้ำโขง และเพื่อป้องกันจึงได้มีการสร้างเขื่อนขึ้น เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ

แหล่งอ้างอิง(Reference)

http://www.dpt.go.th/soil/ กรมโยธาธิการและผังเมือง
http://www.googleearth.com/
http://www.nkcity.com/index.php?mod=article&cat=nongkhaidata&article=242













วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Assignment III เปรียบเทียบการจำแนกดินโดยวิธี Unified Soil Classification กับ wenthworth’s Scale



ดินเป็นวัสดุที่ประกอบขึ้นด้วยสิ่งต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น กรวด, ทราย, ดินเหนียว, อินทรียสาร
เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลของ หินต้นกำเนิด, การกัดกร่อนผุพัง, การพัดพา และการตกตะกอนทับถม เพื่อที่จะจัดหมวดหมู่ของดินที่มีคุณสมบัติเฉพาะคล้ายกันเข้าอยู่ในพวกเดียว กัน ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน การจำแนกประเภทของดินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องกับดินอยู่หลายสาขาด้วยกัน การจำแนกประเภทดินจึงแตกต่างกันออกไป
แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการใช้งานในแต่ละสาขา เช่น ทางด้านเกษตรศาสตร์ จะจำแนกดินตามความอุดมสมบูรณ์ของธาตุสารที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ ทางด้านธรณีวิทยาอาศัยลักษณะหินต้นกำเนิด และการกัดกร่อนผุพัง เป็นปัจจัยในการจำแนก สำหรับทางวิศวกรรมโยธา พิจารณาคุณสมบัติทางฟิสิกส์และกลศาสตร์ของดินเป็นหลัก เช่น ขนาดของเม็ดดิน, แรงยึดเกาะของมวลดิน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยทางวิศวกรรมแต่ละหมวดหมู่ของดิน ที่จัดเข้าไว้ จะมีอักษรย่อเฉพาะซึ่งจะเป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายในหมู่วิศวกร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง


ในวงการวิศวกรรมโยธา การจำแนกดินมีหลายระบบ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประโยชน์
ใช้สอย เช่น งานด้านถนนใช้ระบบ AASHO Classification ซึ่งจัดแบ่งดินตามความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน‚ งานสนามบินใช้ระบบของ FAA Classification และระบบ Unified Soil Classification ซึ่งใช้กับงานวิศวกรรมทั่ว ๆ ไป และนิยมแพร่หลายกว่าระบบอื่น ๆ



ในบทนี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดการจำแนกดินเพียง 2 ระบบ คือ


1. ระบบ Unified Soil Classification


2. ระบบ AASHO Classification


ทั้ง 2 ระบบ อาศัยข้อมูลพื้นฐานในการจำแนกคล้าย ๆ กัน คือ การกระจายและขนาดของเม็ดดิน,
ค่า Atterberg’s limits (L.L.‚ P.L.‚ P.I)‚ สีกลิ่น และการจับตัวของเม็ดดิน รวมทั้งอินทรียสารที่เจือปน

วิธี Unified Soil Classification

Unified Soil Classification System ASTM D-2487,Sieve Analysis

ในทางอุดมคติเท่านั้นในการทำ piping stress analysis underground pipeline นั้นจะต้องได้คุณสมบัติของดินจาก geotechnical engineer เพื่อที่จะสามารถใส่ค่า K1, P1, & K2 ลงใน piping model (ค่าเหล่านี้ก็ไม่ได้แสดงใน soil report ) ค่าที่แสดงใน laboratory tests และ รายงานในภาคสนามจะมีค่าดังนี้ครับ
  • unit weight (g)
  • water content
  • relative compaction
  • undrained shear strength (Su)
  • cohesion (c)
  • angle of internal friction (f)
  • angle of friction of soil against pipe face (d)
    คุณสมบัติเหล่านี้สามารถนำไปสร้างความสัมพันธ์ restraint force-displacement สำหรับดินรอบๆท่อที่ฝังใต้ดิน เป็นการที่ดีที่ piping designer มีความเข้าใจคุณสมบัติของดิน และสามารถประเมิณหาค่าที่ต้องการได้ด้วยตนเอง ดังนั้นอย่างแรกเลย piping designer จะต้องสามารถจําแนกประเภทของดินทางด้านวิศวกรรม โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ตามมาตรฐาน Unified Soil Classification System ASTM D-2487 ซึ่งนิยมใช้กับงานฐานรากทั่วไป และ underground pipeline
    การจําแนกดินตามมาตรฐานนี้ จะทําการจําแนก ดินเสียก่อนว่าเป็นดินชนิดเม็ดหยาบ หรือดินชนิดเม็ดโดยอาศัยข้อมูลจากทดสอบ Sieve Analysis โดยดูว่ามีดินค้างอยู่ บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 200 อยู่เท่าไร
    - ถ้ามีดินค้างอยู่บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 200 เกิน 50 % by weight ถือว่าเป็นดินจําพวกเม็ดหยาบ Coarse Grained Soils ดินจําพวกนี้ได้แก่ Gravelly Soils , Sandy Soils
    - ถ้ามีดินค้างอยู่บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 200 น้อยกว่า 50 % by weight ถือว่าเป็นดินจําพวกเม็ดละเอียด Fine Grained Soils ดินจําพวกนี้ได้แก่ ตะกอนทราย (Silt ) หรือดินเหนียว(Clay )

    เราสามารถทราบ ชนิดของดินโดยดูจาก อักษรตัวหน้าของดิน เช่น

  • กรวด ( Gravel ) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “G” มีดินค้างอยู่ บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 4 เกิน 50 %
  • ทราย ( Sand ) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “S” มีดินค้างอยู่ บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 4 น้อยกว่า 50 %
  • ตะกอนทราย (Silt) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “M”
  • ดินเหนียว ( Clay ) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “C”
  • ดินมีสารอินทรีย์ปน(Organic) “O”
  • Peat อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “Pt”

    ส่วนอักษรที่สอง จะบอกลักษณะของดิน ซึ่งหาได้จากการกระจายของเม็ดดินและการทดสอบหาค่าความข้นเหลวของเม็ดดิน( Atterberg’s Limit ) เช่น

  • ดินเม็ดหยาบมีขนาดเม็ดคละกันดี ( Well graded) ตัวอักษรที่สองเป็น “W”
  • ดินเม็ดหยาบมีขนาดเม็ดคละกันไม่ดี ( Poorly graded ) ตัวอักษรที่สองเป็น “P”
  • ดินเม็ดละเอียดที่มีพลาสติกซิตี้สูง ( High Plastic ) ตัวอักษรที่สองเป็น “H”
  • ดินเม็ดละเอียดที่มีพลาสติกซิตี้ต่ํา ( Low Plastic ) ตัวอักษรที่ สองเป็น “L”

    การทดสอบ Grain Size Analysis
    เป็นการทดสอบหาขนาดเม็ดของดินและการกระจายขนาดของเม็ดดิน (Grain Size Distribution) เพื่อประโยชน์ในการจําแนกดิน (Soil Classification) และเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของดิน การทดสอบ สามารถแบ่งเป็น 2 วิธี ขึ้นอยู่กับขนาดเม็ดดิน ได้แก่

    1 สําหรับดินที่มีเม็ดดินหยาบ การทดสอบทําโดยวิธีร่อนด้วยตะแกรง (Sieve Analaysis หรือMechanical analysis) ทําโดยนําดินที่ต้องการหาขนาดใส่ลงในตะแกรงมาตรฐาน และเขย่า ตะแกรงที่ใช้ร่อนมีหลายขนาด ตั้งแต่เบอร์ 4 (ขนาด 4.75 มม.) ถึง เบอร์ 200 (ขนาด 0.075 มม.) โดยเรียงตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็กสุด เมื่อร่อนและนํามาชั่งก็จะคํานวณหาส่วนที่ค้างหรือผ่านตะแกรงขนาดต่างๆ เป็นเปอร์เซนต์กับ น้ําหนักทั้งหมด

    2. สําหรับดินเม็ดละเอียด ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 0.075 มม. เช่น ดินเหนียว (Clay) ดินเหนียวปนตะกอนทราย(Silty Clay) หรือดินตะกอนทราย (Silt) ใช้วิธีตกตะกอน (Hydrometer Analysis) ทําโดยการนําดินมาละลายน้ําแล้วใส่ลงไปในหลอดแก้วให้เม็ดดินหรือตะกอนกระจัด กระจายแขวนตัวลอยอยู่ในน้ำ แล้วใช้ไฮโดรมิเตอร์วัดอัตราการตกตะกอน หรือวัดค่าความถ่วงจําเพาะของเม็ดดินที่แขวนลอยอยู่ในน้ําตามความลึกที่ กําหนด ที่ช่วงเวลาต่างๆ โดยอาศัย Stoke’s Law ที่ว่า ความเร็วของการตกตะกอนจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเม็ดดิน ความ หนาแน่นของของเหลว ความหนืดของของเหลวและขนาดของเม็ดดิน กล่าวคือ ดินเม็ดใหญ่จะตกตะกอนเร็วกว่าดินเม็ด เล็ก ดังนั้น เมื่อทราบความเร็วของการตกตะกอนก็สามารถคํานวณหาขนาดของตะกอนได้


  • .

    .


    การจำแนกโดยระบบ Unified Soil Classification


    ใช้อักษรย่อ 2 ตัว ทำให้จดจำง่าย และมีความหมายในตัวเอง เช่น G = Gravel (กรวด)‚
    S = Sand (ทราย)‚ M = Silt (ดินทราย)‚ C = Clay (ดินเหนียว)‚ W = Well Graded (เม็ดคละ)‚ P = Poorly Grade (เม็ดไม่คละ)‚ H = High Liquid Limit (L.L. มีค่าสูง)‚ L = Low Liquid Limit (L.L. มีค่าต่ำ) หรือ O = Organic (ดินมีอินทรียสารปนมาก) ดังแสดงในรูปที่ 1 และตารางที่ 1


    ขั้นตอนในการจำแนกอาจทำได้ดังนี้



    1. แบ่งตามลักษณะขนาดเม็ดดิน เป็นพวกเม็ดหยาบได้แก่ กรวด (Gravel) และทราย
    (Sand) และพวกเม็ดละเอียด ได้แก่ ดินเหนียว (Clay) และดินทราย (Silt)


    2. แบ่งย่อยตามลักษณะการกระจายของเม็ดดิน สำหรับพวกเม็ดหยาบเป็นพวกที่เม็ดคละหลาย
    ขนาด (Well Graded) และเม็ดไม่คละ เนื่องจากมีเม็ดขนาดเดียวกันมากหรือขนาดเม็ดขาดช่วง (Poorly Grade)


    3. แบ่งย่อยตามค่า Atterberg’s limits สำหรับพวกเม็ดละเอียด เรียกว่า Plasticity เช่น พวก
    มีค่า L.L. และ P.I สูง เรียกว่า High Liquid Limit เป็นต้น


    เมื่อถึงขั้นสุดท้าย จะมีอักษรย่อแทน 2 ตัว (ในกรณีก้ำกึ่งใช้ 4 ตัว) เช่น CH‚ GW‚ SP หรือ
    GM-GC‚ ML-CL

    การจำแนกโดยระบบ AASHO Classification


    ใช้อักษรย่อจาก A-1 ถึง A-7 โดยที่เรียงลำดับจากความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทาง
    คือ A-1 ถึง A-3 เหมาะสมมาก ส่วน A-4 ถึง A-7 พอใช้ถึงใช้ไม่ได้ นอกจากนั้นยังมีการแบ่งย่อยลงไปอีกสำหรับกรุ๊ป A-1‚ A-2‚ A-7 เช่น A-1-a‚ A-1-b‚ A-2-4‚ A-2-7‚ A-7-5 เป็นต้น ดังแสดงในตารางที่ 2

    ขั้นตอนในการจำแนกอาจทำได้ดังนี้


    1. แบ่งตามการกระจายของเม็ดดิน


    2. แบ่งตามค่า Atterberg’s Limits


    3. แบ่งตามค่า Group Index (G.I.)


    เมื่อถึงขั้นตอนสุดท้าย จะมีอักษรต่อ 2 หรือ 3 และมีวงเล็บต่อท้ายด้วยค่า Group Index เช่น
    A-1-a(0)‚ A-3(0)‚ A-7-b(12)


    wenthworth’s Scale



    Assignment II การเปรียบเทียบกราฟ uniaxial copressive strength กับ porosity


    กราฟของ porosity เเละ uniaxial copressive strength ไม่มีความสัมพันกันเลยเเต่เป็นกราฟที่เเสดงให้เห็นว่าข้อมูลมันไม่มีความสัมพันกันอย่างรัยเเค่ีเท่านั้น ดั้งนั้นจึงสรุปว่าความเเข็งเเกร่งไม่มีความสัมพันกับช่ิงว่างใน วัตถูนั้น

    วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

    Assignment I ตรวจสอบ Precision (แก้ไขครั้งที่1)


    แก้ไข โดยเปลี่ยนจุดอ้างอิงเป็น โรงเรียนบ้านสามแหลม
    จากแผนที่ SERIES ลำดับชุด 1501 S
    SHEET ระวาง NC 47-10
    จังหวัด ระนอง

    หาความแม่นยำเทียบระหว่างแผ่นที่กรมแผนที่ทหารกับGoogle earthโดยใช้ โรงเรียนบ้านสามแหลม
    เป็นจุดอ้างอิง โดยอ่านพิกัดจาก แผนที่ได้ 9°57'55" เหนือ 98°38'20" ตะวันออก
    อ่านพิกัดจาก Google earth ได้ 9°57'58.67"เหนือ 98°36'7.15"ตะวันออก
    ค่าที่อ่านได้ มีความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อย

    วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

    รายชื่อกลุ่ม

    นายกิตติพงษ์ แสงวนิช 51010073

    นายณุพันธ์ ชะอุ่ม 51010456

    นายณปภัช ชาตรูประชีวิน 51010651

    http://geomageit.blogspot.com/


    นางสาว จุฬาลักษณ์ ทองแท่ง 51010196

    นาย ธนาคม ติวานนท์ 51010557

    นาย ปภังกร จูงตระกูลรัตน์ 51010739

    http://otycivil.wordpress.com/



    นายกีรติ อยู่คง รหัส 51010083

    นายเกรียงไกร จันธรรมาพิทักษ์ รหัส 51010092

    นายธีรพงษ์ รูปโอ รหัส 51010606

    http://cv069.wordpress.com/

    วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

    Assignment I ตรวจสอบ Precision


    จากแผนที่ SERIES ลำดับชุด 1501 S
    SHEET ระวาง NC 47-10
    จังหวัด ระนอง

    หาความแม่นยำเทียบระหว่างแผ่นที่กรมแผนที่ทหารกับGoogle earthโดยใช้ บริเวณยอดเขาหินถาก
    เป็นจุดอ้างอิง โดยอ่านพิกัดจาก แผนที่ได้ 9° 02'30" เหนือ 98°21'11" ตะวันออก
    อ่านพิกัดจาก Google earth ได้ 9° 2'32.89" เหนือ 98°21'11.13" ตะวันออก

    ค่าที่อ่านได้ มีความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อย